วันศุกร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

โสตทัศนูปกรณ์ประเภทแสงที่นิยมใช้ในปัจจุบันมีดังนี้
1. เครื่องฉายสไลด์ (Slide Projector) เครื่องฉายสไลด์เป็นเครื่องฉายระบบฉายอ้อม (Indirect Projector) ที่สร้างขึ้นมาสำหรับฉายภาพโปร่งใสขนาดเล็กที่นิยมมากในปัจจุบัน เป็นภาพที่ถ่ายด้วยฟิล์ม 35 มม. นำมาใส่กรอบขนาด 2x2 นิ้ว
ชนิดของเครื่องฉายสไลด์ จำแนกตามลักษณะการทำงานของเครื่องฉายมี 2 ชนิด คือ
1. เครื่องฉายสไลด์แบบธรรมดา (Manual Slide Projector) เป็นเครื่องฉายที่ออกแบบมาโดยใช้คนควบคุมการทำงานทุกขั้นตอน
2. เครื่องฉายสไลด์แบบอัตโนมัติ (Automatic Projector) เป็นเครื่องฉายที่ออกแบบให้ทำงานอัตโมนัติ สามารถเชื่อมต่อสัญญาณกับเครื่องบันทึกเสียงแบบสัมพันธ์ภาพและเสียง (Synchronize Type) หรือเครื่องควบคุมการฉาย (Dissolve Control Unit) ได้
ส่วนประกอบของเครื่องฉายสไลด์ ที่สำคัญแบ่งได้เป็น 2 ส่วน คือ
1. ส่วนประกอบภายนอก ได้แก่ ตัวเครื่องฉาย (Body) มีลักษณะเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมแบนเล็กน้อยโดยทั่วไปทำด้วยโลหะ บนตัวเครื่องฉายมีส่วนประกอบต่าง ๆ ดังนี้
- ร่องวางถาดใส่สไลด์และช่องเปลี่ยนภาพสไลด์
- ปุ่มสวิตซ์เปิด-ปิด
- ช่องเลื่อนสายไฟ AC
- ช่องใส่เลนส์
- ปุ่มปรับความคมชัดของภาพ (มีบางรุ่น)
2. ส่วนประกอบภายใน ได้แก่ อุปกรณ์ฉายต่าง ๆ เช่น จานสะท้อน หลอดฉาย เลนส์รวมแสง เลนส์ฉาย
หลักการใช้เครื่องฉายสไลด์
1. ต้องศึกษาคู่มือการใช้เครื่องฉายให้เข้าใจ
2. เตรียมเครื่องฉายบนแท่นวาง
3. ตรวจสภาพเครื่องฉายให้พร้อมที่จะใช้งานได้
4. เตรียมห้องฉาย จอ และอุปกรณ์อื่น ๆ ที่จำเป็น
5. นำรางหรือถาดใส่ในเครื่องให้ถูกต้อง
6. เสียบปลั๊กไฟ เปิดสวิตซ์พัดลม และสวิตซ์แสง
7. กดปุ่มเดินหน้า เฟรมที่ 1 ปรับขนาดและความคมชัด
8. ฉายภาพตามเนื้อหาที่กำหนดไว้พร้อมอธิบายประกอบ
9. เมื่อจบแล้วให้ปิดสวิตซ์แสงรอให้หลอดฉายเย็นแล้วจึงปิดสวิตซ์พัดลม
10. เก็บสายไฟ ปรับเลนส์ให้เข้าที่แล้วเก็บเครื่องฉาย
หลักการดูแลเครื่องฉายสไลด์
1. ใช้ให้ถูกตามที่กล่าวมาแล้ว
2. ไม่เคลื่อนย้ายเครื่องฉายขณะหลอดฉายกำลังร้อน
3. ควรเก็บเครื่องฉายในที่ที่มีอุณหภูมิต่ำและไม่มีฝุ่นละออง
4. ในกรณีเครื่องใหม่ต้องศึกษาวิธีใช้จากคู่มือประจำเครื่องให้เข้าใจ
5. ถ้าเครื่องชำรุดควรส่งให้ช่างผู้ชำนาญซ่อม
6. อย่าให้เครื่องตกหรือกระทบกระแทกเด็ดขาด
7. การเปลี่ยนหลอดฉาย ห้ามใช้มือจับหลอด
2. เครื่องฉายฟิล์มสตริป (Filmstrip Projector) เครื่องฉายฟิล์มสตริปเป็นเครื่องฉายระบบฉายตรง สามารถฉายได้ทั้งสไลด์และฟิล์มสตริปในเครื่องเดียวกัน เพียงแต่เปลี่ยนชุดสำหรับใส่ฟิล์มสตริป (Filmstrip Carrier) เข้าไปแทนก็ใช้ได้ ฟิล์มสตริปเป็นแถบฟิล์ม 35 มม. บันทึกภาพนิ่งเช่นเดียวกับสไลด์ แต่ไม่ตัดฟิล์มออกเป็นภาพ ๆ เมื่อจะฉายก็ใส่ฟิล์มทั้งม้วนเข้าในเครื่องแล้วฉายภาพทีละภาพตามลำดับ ฟิล์มสตริปมี 2 ขนาด คือ

1. ชนิดกรอบภาพคู่ (Full Frame or Double Frame) ปัจจุบันไม่ค่อยนิยมใช้
2. ชนิดกรอบภาพเดี่ยว (Half Frame or Single Frame) ขนาดกรอบภาพเป็นครึ่งหนึ่งของกรอบภาพคู่มือ 18 x 24 มม. มีจำนวนกรอบภาพ 60 ภาพหรือมากกว่า ฟิล์มสติปมีน้ำหนักเบา ขนาดเล็ก เก็บรักษาง่ายใช้ได้สะดวกกว่าภาพสไลด์ เพราะภาพเรียงเป็นลำดับติดกันอยู่แล้ว สะดวกที่จะใช้ประกอบการสอน แต่มีข้อเสียก็คือ หากภาพใดภาพหนึ่งชำรุดเสียหายจะแก้ไขยาก ต้องผลิตใหม่ทั้งม้วน หรือจัดซื้อใหม่
วิธีใช้เครื่องฉายฟิล์มสตริป
1. ศึกษาคู่มือประจำเครื่องให้เข้าใจ
2. ตั้งเครื่องฉายบนแท่นวางสูงกว่าระดับศีรษะผู้ดูเล็กน้อย และห่างจากจอพอสมควร
3. บรรจุฟิล์มสตริปโดยกลับหัวลงเช่นเดียวกับการใส่ฟิล์มสไลด์
4. เลียบปลั๊กเปิดสวิตซ์พัดลมและสวิตซ์แสงตามลำดับ
5. ปรับความคมชัดของภาพบนจอ
6. หมุนแกนดึงฟิล์มเพื่อฉายภาพทีละภาพจนจบ
7. เมื่อฉายภาพจบให้ปิดสวิตซ์แสง และรอจนกระทั่งพัดลมเป่าหลอดฉายให้เย็นแล้ว
3. เครื่องฉายภาพยนตร์ (Motion Picture Projector) เครื่องฉายภาพยนตร์เป็นเครื่องฉายในระบบฉายตรง แต่มีส่วนประกอบอื่น ๆ เพิ่มมากขึ้น ได้แก่ เฟืองหนามเตย (Sprocket Wheel) กวัก (Intermittent) ใบพัดตัดแสง (Shutter) คำว่า ภาพยนตร์ หมายถึง ภาพที่มีการเคลื่อนไหวได้เหมือนเหตุการณ์จริง แต่ความจริงแล้วภาพดังกล่าวมิได้เคลื่อนไหวจริง มันเป็นภาพที่เกิดจากอนุกรมของภาพที่ค่อย ๆ เปลี่ยนจากภาพนิ่งภาพหนึ่งไปสู่ภาพนิ่งใหม่อย่างต่อเนื่อง
หลักการใช้เครื่องฉายภาพยนตร์ ก่อนฉาย ก่อนใช้เครื่องฉายควรปฏิบัติดังนี้
1. ทำความสะอาดส่วนต่าง ๆ เช่น เลนส์ ประตูฟิล์ม ฯลฯ
2. ตรวจสอบระบบไฟ ต่อไฟเข้าเครื่อง ต่อลำโพง
3. การตั้งจอต้องอยู่ในมุมตั้งฉากกับเครื่องฉาย
4. ร้อยฟิล์มเข้าเครื่อง ตามผังการร้อยฟิล์มของเครื่องฉายแต่ละเครื่อง ขณะฉาย เมื่อจะเริ่มฉายควรปฏิบัติดังนี้
1. เปิดสวิตซ์มอเตอร์ (Forward)
2. เปิดสวิตซ์ฉาย (Lamp)
3. เปิดสวิตซ์เสียง (Volume) ปรับระดับเสียง (Tone)
- ถ้าเป็นฟิล์มเงียบ ใช้สวิตซ์ Silent
- ถ้าเป็นฟิล์มเสียง ใช้สวิตซ์ Sound
4. ปรับความคมชัด
5. ปรับกรอบภาพให้สมบูรณ์
6. ถ้ามีเสียงผิดปกติหรือกลิ่นไหม้ให้หยุดฉายทันที เลิกฉาย
1. ลดเสียงให้ต่ำลง
2. ปิดสวิตซ์ฉาย แต่ปล่อยให้ฟิล์มเดินต่อไปจนหมดม้วน
3. กดคลัชต์ให้เฟืองหนามเตยหยุด แล้วดึงหางฟิล์มมาร้อยกับล้อส่งฟิล์ม เพื่อหมุนฟิล์มกลับมาในม้วนเดิม
4. เมื่อพัดลมเป่าหลอดฉายเย็นดีแล้วจึงปิดสวิตซ์พัดลมและเก็บเครื่องได้
การเก็บรักษาเครื่องฉายภาพยนตร์
1. ตรวจดูน้ำมันหล่อลื่นตามจุดที่ต้องการให้หล่อลื่น อย่าให้แห้ง
2. ทำความสะอาดทางเดินของฟิล์มและเลนส์อย่าให้สกปรก
3. ให้พัดลมเป่าหลอดฉายจนกระทั่งเย็นทุกครั้ง
การเก็บรักษาฟิล์มภาพยนตร์
1. เมื่อไม่ใช้ต้องเก็บฟิล์มให้มิดชิด
2. อย่าใช้มือจับที่ผิวฟิล์ม
3. อย่าร้อยฟิล์มในเครื่องฉายให้หย่อนหรือตึงเกินไป
4. ขณะฉายอย่าหยุดฟิล์มที่ประตูฟิล์มนานเกินไป
5. ควรตรวจเครื่องฉายให้อยู่ในสภาพปกติ ปราศจากฝุ่นโดยเฉพาะประตูฟิล์ม
4. เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ (Overhead Projector) เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะหรือเครื่องฉายภาพโปร่งใส เป็นเครื่องฉายระบบฉายอ้อม (Indirect Projector) ปัจจุบันมี 3 ชนิด คือ
1. ชนิดแสงส่องตรง หลอดฉายที่อยู่ใต้แท่นรองรับวัสดุฉาย จะส่องผ่านเลนส์เกลี่ยแสง (Fresnel Lens) ตรงไปยัง เลนส์ฉาย (Objective Lens) ซึ่งอยู่ส่วนหัวเครื่องฉายนั้น
2. ชนิดแสงสะท้อน หลอดฉายที่อยู่ใต้แท่นจะส่องแสงไปยังกระจกเงาที่เอียง 45 องศา แล้วสะท้อนแสงผ่านวัสดุฉายไปยังเลนส์ฉาย (Objective Lens) ซึ่งอยู่ส่วนหัวเครื่องฉายนั้น
3. ชนิดที่มีแสงสะท้อนแสงติดบนแท่น หลอดฉายจะติดอยู่กับหัวเครื่องฉาย จึงไม่มีส่วนตัวเครื่อง (Lamp House) ไม่มีพัดลมเป่าหลอด เครื่องฉายชนิดนี้มีน้ำหนักเบา แต่หลอดจะขาดง่าย เพราะไม่มีระบบระบายความร้อน
ส่วนประกอบของเครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะมีส่วนประกอบที่สำคัญ 2 ส่วน ดังนี้
1. ส่วนประกอบภายนอก
1.1 ตัวเครื่องฉาย (Body) มีลักษณะเป็นกล่องมักทำด้วยโลหะ ด้านบนเป็นแท่นกระจกสำหรับวางวัสดุฉาย มุมด้านขวามือมีเสาสำหรับติดตั้งหัวฉาย ด้านข้างมีแกนยึดแผ่นโปร่งใสแบบม้วน ด้านหลังมีสายไฟและสวิตซ์ควบคุมการทำงาน
1.2 แขนเครื่องฉายและหัวฉาย จะประกอบต่อกับเสาเครื่องฉาย สามารถปรับเลื่อนขึ้น-ลง ตามแนวดิ่งได้
1.3 อุปกรณ์การฉายพิเศษ ใช้กับเทคนิคการนำเสนอแผ่นโปร่งใสแบบเคลื่อนไหว (Polarizing Transparency) อุปกรณ์นี้เรียกว่า จานหมุน หรือ สกินเนอร์ หรือ โพราไรซ์ฟิลเตอร์
2. ส่วนประกอบภายใน
2.1 หลอดฉาย (Projection Lamp) เป็นแหล่งกำเนิดแสง
2.2 แผ่นสะท้อนแสง (Reflector) ทำหน้าที่หักเหและสะท้อนแสงที่ออกทางด้านหลังของหลอดฉายทำให้แสงมีความเข้มมากขึ้น
2.3 เลนส์เกลี่ยแสง (Fresnel Lamp) ทำหน้าที่เกลี่ยแสงที่มีจากหลอดฉายส่องผ่านวัสดุฉาย
3. แท่นวางวัสดุฉาย (Transparency Table) ใช้วางแผ่นโปร่งใส เพื่อให้ทำหน้าที่ขยายภาพหรือวัสดุฉายให้มีขนาดใหญ่ไปปรากฏบนจอ
4. เลนส์ฉาย (Objective Lens) เป็นเลนส์นูนที่อยู่ในหัวฉายทำหน้าที่ขยายภาพ หรือวัสดุฉายให้มีขนาดใหญ่ไปปรากฏบนจอ
5. กระจกเงาระนาบหรือกระจกเอน (Tilt Mirror) ทำหน้าที่รับภาพจากเลนส์ฉายแล้วหักเหลำแสงให้ไปปรากฏบนจอ
6. พัดลม (Fan or Electric Fan) ทำหน้าที่ระบายความร้อนให้กับหลอดฉายบางเครื่องมีสวิตซ์ปิด-เปิดโดยเฉพาะ บางเครื่อง มีสวิตซ์อัตโนมัติซึ่งเรียกว่า เทอร์โมสตาร์ท (Themestat)
ขั้นตอนการใช้เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ
1. เตรียมแผ่นโปร่งใสที่จะใช้ให้พร้อม เรียงตามลำดับขั้นตอน
2. ตั้งจอและเครื่องฉายให้ห่างกันประมาณ 1.5-2 เมตร โดยวางเครื่องฉายให้มั่นคงและตำแหน่งของเลนส์ฉายตั้งฉากกับจอ
3. ทำความสะอาดแท่นวางแผ่นโปร่งใส เลนส์ฉาย ตรวจระบบไฟเครื่องฉายแล้วเสียบปลั๊ก
4. ทดลองฉาย เปิดสวิตซ์เครื่องฉาย วางปากกาหรือวัสดุทึบแสงอื่น ๆ ที่มีขนาดเล็กปรับโฟกัสจนเกิดความคมชัด
5. ขณะฉายควรปิดข้อความหรือรูปภาพที่ยังบรรยายไม่ถึงด้วยกระดาษทึบแสงและค่อย ๆ เปิดเมื่ออธิบายถึงเนื้อหานั้น
6. เมื่อจะเปลี่ยนหลอดฉายควรจะเปิดฉายก่อนทุกครั้ง
7. เมื่อต้องการชี้ข้อความหรือรูปภาพควรใช้วัสดุทึบแสงขนาดเล็ก ๆ
8. เมื่อเลิกใช้ให้ปิดหลอดฉายปล่อยให้พัดลมทำงานต่อไปจนเครื่องเย็นลง พัดลมจะหยุดโดยอัตโนมัติ
หลักการเลือกเครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ
1. กำลังส่องสว่างของเครื่องสูง สามารถปรับกำลังส่องสว่างและเปลี่ยนหลอดได้สะดวกรวดเร็ว
2. คุณภาพของภาพที่ปรากฏบนจดชัดเจน ไม่พร่ามัว ขนาดของเลนส์เหมาะกับระยะทางในการฉายหรือเหมาะกับห้องฉาย
3. สะดวกในการซ่อมแซมและบำรุงรักษา หาอะไหล่ได้ง่าย ราคาถูก
4. เครื่องเดินเงียบสม่ำเสมอ ไม่มีเสียงรบกวนจากพัดลม
5. มีความแข็งแรงทนทาน น้ำหนักเบา เคลื่อนย้ายง่าย
ข้อควรระวังในการเก็บรักษาเครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ

1. ไม่ควรใช้เครื่องฉายติดต่อกันเป็นเวลานาน ควรปิดพักหลอดฉายสลับกันเป็นระยะ ๆ ในขณะอภิปราย
2. เมื่อจะเคลื่อนย้ายเครื่องฉายต้องปิดหลอดฉายก่อน และรอให้หลอดฉายเย็นก่อนจึงจะเคลื่อนย้ายได้อย่างปลอดภัย
3. ถ้ามีฝุ่นละอองจับเลนส์หรือกระจกเงาสะท้อนแสง ควรใช้กระดาษเช็ดเลนส์หรือหนังชามัวร์เช็ดทำความสะอาดแต่ไม่ควรทำบ่อยนัก
4. การเปลี่ยนหลอดฉาย ห้าม!! ใช้มือจับกระเปาะหลอดแก้ว (หลอดฉายใหม่) ควรใช้ผ้านุ่ม ๆ สะอาด ๆ พันก่อนแล้วจึงทำการเปลี่ยนและต้องใส่ขั้วให้ถูกด้านด้วย
5. ไม่ควรใช้สายไฟฟ้าขั้นเสียบของเครื่องฉายถูกน้ำ เพราะอาจทำให้ไฟฟ้าลัดวงจรเป็นอันตรายต่อผู้ใช้ได้ 5. เครื่องฉายทึบแสง (Opaque Projectors) เครื่องฉายทึบแสงเป็นเครื่องฉายภาพจากวัสดุฉายทึบแสง เช่น ภาพจากหนังสือ ภาพโฆษณา ดินสอ ปากกา ฯลฯเครื่องฉายชนิดนี้ต้องใช้ในห้องมืดมาก ๆ จึงจะได้ภาพคมชัดและไม่เหมาะที่จะฉายติดต่อกันนาน ๆ เพราะหลอดฉายร้อนมากจนอาจทำให้วัสดุฉายกรอบหรือชำรุดได้
การใช้เครื่องฉายฉายทึบแสง
1. วางเครื่องฉายบนแท่นวางเครื่องที่มั่นคงแล้วเสียบปลั๊กไฟ
2. วางวัสดุฉายชนิดทึบแสงบนแท่นวางวัสดุฉาย โดยให้ขอบด้านล่างขวาวัสดุฉายอยู่ด้านใกล้จอ ขนาดของวัสดุที่วางบนแท่นได้ไม่ควรเกิน 10 x 10 นิ้ว
3. เปิดสวิตซ์ฉายปรับระดับของเครื่องฉายให้พอดีกับจอ
4. ความคมชัดของภาพโดยหมุนล้อปรับโฟกัสที่อยู่ด้านข้างของเลนส์
5. ถ้าต้องการให้ภาพเล็กหรือใหญ่ขึ้นจะต้องค่อย ๆ เลื่อนเครื่องฉายเข้าหาหรืออกห่างจอและปรับความคมชัดใหม่
6. ห้องฉายควรเป็นห้องมืดสนิทและระบายอากาศได้ดี
7. เมื่อเลิกใช้ให้ปิดสวิตซ์ฉาย เป่าให้พัดลมเป่าหลอดฉายจนเย็น
8. ห้ามเคลื่อนย้ายหรือทำให้เครื่องฉายกระทบกระเทือนขณะหลอดหลายกำลังร้อน เพราะอาจทำให้หลอดขาดได้ง่าย
การบำรุงรักษาเครื่องฉายภาพทึบแสง
1. ไม่ควรฉายติดต่อกันนานเกินไป
2. อย่าให้เครื่องสกปรก โดยเฉพาะเลนส์ฉายและหลอดฉาย
3. ศึกษาคู่มือให้เข้าใจวิธีใช้และบำรุงรักษาที่ถูกต้อง

ไม่มีความคิดเห็น: